universal design for all person

ยูนิเวอร์แซลดีไซน์ ( Universal Design ) คืออะไร ?

Universal Design  เรียกง่ายๆว่า การออกแบบเพื่อคนททุกคน, ที่ทุกคนสามารถเข้าใจ และใช้งานได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึง เพศ อายุ ขนาดของผู้ใช้งาน รวมถึงความพิการ. ซึ่งการออกแบบจะต้องตอบโจทย์การใช้งานของคนทุกประเภทที่กล่าวมาข้างต้นได้ และสิ่งนี้จะต้องไม่ถือว่าเป็นอุปกรณ์พิเศษใดๆ หรือทำเพื่อบุคคลประเภทไดประเภทหนึ่งเท่านั้น นี่ถือเป็นหลักสำคัญในการออกแบบ Universal Design

สามารถเข้าถึงได้ทุกสถานที่

และการที่สถานที่ หรือสภาพแวดล้อมนั้นๆสามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานได้สะดวกโดยไม่มีความซับซ้อน ทุกคนก็จะสามารถเข้าใจ และใช้งานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในกระบวนการออกแบบจะต้องคำนึงถึงตลอด และการออกแบบที่เป็น Universal Design จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกคน รวมถึงเป็นการออกแบบที่ดีอีกด้วย

univer design 7 principle

7 หัวใจหลักสำคัญของ Universal Design

หลักสำคัญ 7 อย่าง ถูกคิดค้น และพัฒนาขึ้นในปี 1997 โดยกลุ่มนักออกแบบสถาปัตย์, นักออกแบบสินค้า หัวเรือในโครงการนำโดย Ronald Mace ใน มหาวิทยาลัย North Carolina State University

โดยจุดประสงค์หลักคือการออกแบบ สภาพแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ และเรื่องของการสื่อสาร
มุ่งไปที่ ศูนย์กลางของ Universal Design หรือ NCSU หัวใจหลักคือการนำการออกแบบของสิ่งที่มีอยู่แล้ว นำมาศึกษาใหม่โดยนักออกแบบ รวมทั้งผู้ผลิต และผู้ใช้งาน เพื่อให้เข้าใจการใช้งานที่แท้จริง รวมถึงความเข้าใจของบุคคลทั่วไปต่อผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งของ ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ

1.ความเท่าเทียมในการใช้งาน

การออกแบบต้องใช้ได้จริง และเจาะกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปได้
– ต้องทำให้ชัดเจน และเข้าใจตรงกัน
– หลีกเลี่ยงการแบ่งแยกเชิงสัญลักษณ์
– ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย จะต้องเท่าเทียมกันทุกคน
– ออกแบบให้ใช้งานได้ทุกคน เหมือนกันทุกประการ

2.ความยืดหยุ่นในการใช้งาน

การออกแบบต้องรองรับความต้องการ และความสามารถของแต่ละบุคคล ที่มีความหลากหลาย
– ให้ทางเลือกในการใช้งาน
– ต้องให้เข้ากับคนที่ถนัดซ้าย และถนัดขวา
– ต้องอำนวยความสะดวกสูงสุดในการใช้งาน
– ต้องปรับการใช้งาน ให้เข้ากับผู้ใช้

3.ใช้งานง่าย และคล่องตัว

การออกแบบให้เข้าใจง่าย โดยไม่ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ ความรู้ และภาษาของผู้ใช้งาน
– นำสิ่งที่ยุ่งยาก และไม่จำเป็นออก
– ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ และเข้าใจได้ทันทีโดยสัญชาติญาณ
– จะต้องเข้าได้กับคนส่วนใหญ่ ในเรื่องของตัวอักษร ภาษา
– ให้ผู้ใช้งานสามารถเสนอแนะ และให้ความเห็นได้

4.เข้าใจข้อมูลได้ง่าย

การออกแบบ ผู้ใช้งานจะต้องสามารถสื่อสารกับข้อมูลที่จำเป็นได้ โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม หรือความสามารถทางประสาทสัมผัสของผู้ใช้
– ใช้วิธีสื่อสารหลายทาง เช่น ภาพ วาจา หรือการสัมผัส ในการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนขึ้น
– การสื่อสารต้องแบ่งแยกให้ชัดเจน
– เพิ่มความชัดเจนของข้อมูลให้ได้มากที่สุด
– องค์ประกอบต่างๆ รวมถึงสัญลักษณ์ จะต้องเข้าได้ง่าย ไปในทิศทางเดียวกัน
– จะต้องเข้าได้กับผู้ที่มีปัญหาด้านประสาทสัมผัสด้วย

universal design all people

5.ลดความเสี่ยง และข้อผิดพลาด

การออกแบบช่วยลดความเสี่ยง และผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากการกระทำโดยบังเอิญ หรือไม่ได้ตั้งใจ
– จัดองค์ประกอบเพื่อลดความเสี่ยง และข้อผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุด
– ให้คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง
– ป้องกันการกระทำที่ขาดสติ ในสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวัง

6.ใช้ความพยายามให้น้อยที่สุด

การออกแบบต้องสามารถใช้งานได้โดยสะดวกสบาย ออกแรงน้อย ไม่เหนื่อย
-ให้ผู้ใช้งานอยู่นำตำแหน่งที่เป็นธรรมชาติ
– การใช้งานที่สมเหตุสมผล
– ลดการใช้ที่ตำแหน่งเดิมซ้ำๆ
– ลดความพยายามในการใช้ร่างกาย

7.ขนาด และ พื้นที่ที่เหมาะสม

มีการจัดเตรียมขนาด และ พื้นที่ที่เหมาะสม สำหรับการเข้าถึง ซึ่งการใช้งาน ต้องไม่คำนึงถึงขนาดร่างกาย ท่าทางหรือความคล่องตัวของผู้ใช้
– สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน ว่าใช้งานโดยนั่ง หรือยืน
– ให้แน่ใจว่าทุกๆองค์ประกอบ สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะนั่ง หรือยืน
– ราวมือจับสามารถยึดเกาะ และใช้งานได้ดี
– ต้องจัดพื้นที่ให้เพียงพอ ในกรณีผู้ใช้งานมีอุปกรณ์ช่วยเหลือส่วนตัว เช่น รถเข็นวีลแชร์

บริษัท โกลด์เกียร์ กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด ก็ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อ Universal Design และได้นำเข้า สินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ลิฟต์บ้าน, ลิฟต์บันได, รวมถึงลิฟต์แพลตฟอร์มสำหรับที่สาธารณะอีกด้วย