กระดูกพรุน โรคใกล้ตัวที่คุณอาจไม่เคยระวัง !

โรคกระดูกพรุน เกิดขึ้นได้อย่างไร ? การที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงหรือโปร่งบางมากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานเป็นปี โดยไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หรือไม่สามารถรู้สึกได้จนกว่าจะเกิดกระดูกหัก โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์จะมีการสร้างและทำลายกระดูกอยู่ตลอดเวลา และอยู่ในสมดุล พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย กระดูกพรุน เกิดจากอะไร ? โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่ เกิดจากการสูญเสียฮอร์โมนเพศหญิงเนื่องจากหมดประจำเดือน โดยพบว่า 25% ของสตรีที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเป็นโรคกระดูกพรุน รวมถึงสตรีที่หมดประจำเดือนเร็วหรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปีก็จะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคกระดูกพรุนได้มาก นอกจากนี้ยังพบว่าอายุก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคกระดูกพรุนเช่นกัน โดยประมาณหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว กระดูกจะบางลง 1-3% ทุกปี  พันธุกรรมหรือ กรรมพันธุ์ คนเชื้อสายคอเคเชี่ยนและเอเชี่ยน (ผิวขาวและผิวเหลือง) มีอัตราเสี่ยงของกระดูกพรุนสูง และ จะเพิ่มขึ้น เมื่อมีประวัติกระดูกหักของผู้สูงอายุในครอบครัว หรือผู้ที่มีรูปร่างผอมบางอยู่แล้ว การดำเนินชีวิต การขาดอาหาร น้ำหนักตัวน้อย หรือการรับประทานแคลเซียมในปริมาณต่ำ และภาวะการดูดซึมแคลเซียมไม่ดี ผู้ที่ชอบการดื่มสุรา และสูบบุหรี่  ผู้ที่อยู่เฉยๆนั่งๆนอนๆ หรือขาดการออกกำลังกาย ยา และโรคประจำตัว ยาที่มีผลต่อกระดูกพรุนได้แก่ ยาที่มีสารสเตียรอยด์ […]