ปัญหาโรคกระดูก และข้อ ที่ไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บยังพบอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสึกหรอของข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย เมื่อมีอายุมากขึ้นภาวะข้อเสื่อมนั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โรคข้อเสื่อมจึงเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากเป็นข้อที่รับน้ำหนัก และใช้งานมากที่สุด 

เข่าเสื่อม

ทำไม "เข่าเสื่อม" จึงมีโอกาสเป็นมากที่สุด ?

ข้อเข่า : เป็นข้อรับน้ำหนักที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ข้อเข่าที่ปกติ และมีสภาพที่ดี ต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็นข้อที่เคลื่อนไหวได้ดี ไม่ทำให้ปวด และมีความมั่นคงในขณะใช้งาน แต่เมื่ออายุมากขึ้น ข้อเข่าก็จะเสื่อมสภาพตามกาลเวลา

สัญญาณเตือน ! โรคข้อเข่าเสื่อม

ปวดตามข้อ, เข่าบวม, เจ็บตามข้อ, มีเสียงขณะเคลื่อนไหว และเดินได้ช้าลง อาการเหล่านี้เกิดจากการผิดปกติของข้อเข่า 

วิธีหลีกเลี่ยงอาการปวดเข่า

  1. รักษาน้ำหนักให้ไม่หนักจนเกินไป เพื่อให้ข้อเข่ารับน้ำหนักอย่างพอดี 
  2. หลีกเลี่ยงการขึ้น – ลงบันไดหลายๆขั้น เมื่ออายุมากขึ้น การขึ้น – ลงบันได อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมไวได้ หากจำเป็นต้องขึ้น – ลงบันไดบ่อยๆ ควรหาตัวช่วยในการเดิน เช่น ติดตั้งลิฟต์บ้าน เก้าอี้เลื่อนขึ้นบันได (ลิฟต์บันได) เป็นต้น
  3. ลดการเล่นกีฬา ที่ใช้เข่าในการรับน้ำหนัก เพื่อลดการเสียดสี และรับน้ำหนักอย่างรุนแรง
  4. หลีกเลี่ยงการนอนพื้น เพราะต้องงอเข่ามาก เมื่อต้องการนอน แนะนำให้นอนเตียงจะลดการงอเข่าได้เป็นอย่างมาก
  5. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะการยกของหนักจะทำให้เข่ารับน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
  6. หลีกเลี่ยงการนั่งยองเข่ นั่งพับเพียบ หรือขัดสมาธิ ให้นั่งบนเก้าอี้แทน เพื่อให้เข่าไม่ต้องรับน้ำหนักขณะนั่ง

นอกจากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการปวดข้อเข่าแล้ว ควรทำการบริหารร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อต้นขา และสะโพก ดังนี้

  1. ท่าเหยียดขาตรง (Straight Leg Raising) นั่งเก้าอี้ให้หลังตรง ยกขาขึ้น เข่าเหยียดตรงไม่งอ ค้างไว้ นับ 1 – 10 ต่อเซ็ต จะได้การบริหารกล้ามเนื้อต้นขา
  2. สควอช (Squat) กางขาสองข้างระดับหัวไหล่ สามารถยกแขนเพื่อบาลานซ์ตัว หลังตรงเกร็งหน้าท้อง หย่อนก้นและย่อเข่าลงมา พยายามให้หัวเข่าไม่เลยเกินปลายเท้า ย่อเข่าลง 90 องศา แต่ในผู้ที่มีอาการปวดเข่าแนะนำให้ย่อเข่าลงเพียง 45 – 60 องศาที่เรียกว่า ฮาร์ฟสควอช (Half Squat) ทำ 10 ครั้งต่อเซ็ต
  3. ท่าย่อขา (Lunges) เป็นท่าบริหารโดยการย่อขา เพื่อบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกคล้ายกับการสควอช แต่ใช้การก้าวมาด้านหน้าและย่อเข่าสลับกัน  เป็นต้น